32.4 C
Bangkok
วันจันทร์, เมษายน 29, 2024

เที่ยววัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี

วัดทับกระดาน (วัดพุ่มพวง) จัดหวัดสุพรรณบุรี

ราชินีลูกทุ่ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” เป็นชื่อที่แม้กระทั่งเด็กรุ่นใหม่ๆ เองยังคงรู้จักจนถึงทุกวันนี้ เธอเป็นราชินีเพลงลูกทุ่งที่ฝากผลงานเพลงที่ไพเราะ และอยู่ในใจของใครต่อใครหลายคนมากมาย

ถึงวันนี้แม้ราชินีเพลงลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ จะจากเราไปแล้วเนิ่นนาน แต่ความทรงจำและเรื่องราวต่าง ๆ ยังคงมีให้ระลึกถึง ณ สถานที่แห่งนี้ “วัดทับกระดาน” จังหวัดสุพรรณบุรี สิ่งต่าง ๆ ของราชินีเพลงลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ ภาพถ่าย แผ่นเพลง ของพุ่มพวง ดวงจันทร์ สามารถหาได้แทบทุกอย่างจากที่นี่

วัดทับกระดาน (วัดพุ่มพวง) จัดหวัดสุพรรณบุรี

ผมเองไม่ได้มีแผนอะไรมากมายในวันที่เดินทางไป “วัดทับกระดาน” เหตุมาจากเพื่อนคนนึงบอกว่าฝันถึง “วัดทับกระดาน” เช้ามาจึงอยากไป และได้มาพูดคุยกันก็เย็น ๆ เข้าไปละ คุยกันยังไม่ทันจะรู้เรื่องแอดมิน ก็ลางานทันที เพื่อเตรียมเดินทางในวันรุ่งขึ้น

หลังจากสำรวจเส้นทางการเดินทางแล้วก็ไม่มีอะไรให้น่าเป็นห่วง ระยะทางเพียงร้อยกว่ากิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ลุยกันเลย

วัดทับกระดาน (วัดพุ่มพวง) จัดหวัดสุพรรณบุรี

ชุดสังฆทานก็มีให้ทำบุญสำหรับพุทธศาสนิกชน โดยหยอดเงินใส่ตู้ตามกำลังศรัทธา

วัดทับกระดาน (วัดพุ่มพวง) จัดหวัดสุพรรณบุรี วัดทับกระดาน (วัดพุ่มพวง) จัดหวัดสุพรรณบุรี

ภายในโบสถ์ ก็จะมีข้าวของเครื่องใช้ แผ่นเสียง เสื้อผ้า ภาพถ่าย รวมถึงหุ่นของคุณพุ่มพวง จำนวนมาก

ประวัติราชินีเพลงลูกทุ่งผู้โด่งดัง “พุ่มพวง ดวงจันทร์”

พุ่มพวง ดวงจันทร์ มีเรื่องราวที่แสนจะน่าอัศจรรย์หลายอย่างนัก อ่านหนังสือไม่ออก แต่ก็มีพรสวรรค์ในการร้องเพลงแบบที่หาใครเปรียบได้ยาก มีชื่อจริงว่า “รำพึง จิตรหาญ” เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2504 ณ ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นบุตรคนที่ 5 จากพี่น้องจำนวน 13 คนของนายสำราญ และนางเล็ก จิตรหาญ ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างทำไร่อ้อย

คุณผึ้งชอบร้องเพลงตัวแต่ยังเด็ก และเดินทางประกวดร้องเพลงโดยใช้ชื่อว่า “น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย” และมาอยู่กับวงดนตรี ดวง อนุชา ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ จนเมื่ออายุได้ 15 ปี บิดาและน้าชายได้นำไปฝากฝังให้เป็นบุตรบุญธรรมของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ โดยใช้ชื่อว่า น้ำผึ้ง สกุณี ก่อนที่ไวพจน์ จะแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลง แก้วรอพี่ และหันมาใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ เมื่อ พ.ศ. 2519

หลังจากนั้นได้ลาออกจากวงของไวพจน์ไปอยู่กับวง ศรเพชร ศรสุพรรณ มาพร้อมกับธีระพล แสนสุข ได้ไปทำหน้าที่นักร้องพ้อมทั้งเป็นหางเครื่องด้วย แต่หลังจากที่อยู่กับศรเพชรไม่นานก็ได้ย้ายไปอยู่กับวง ขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ดได้บันทึกเสียงจากการแต่งของก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ขวัญชัย เพลงนั้นคือ รักไม่อันตราย

ชื่อในวงการ “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ได้มาจากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือและตั้งวงดนตรีเป็นของตนเองโดยการสนับสนุนของคารม คมคาย ซึ่งเป็นนักจัดรายการวิทยุ แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนัก ก่อนที่จะย้ายมาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียง

จุดพลิกผันที่ส่งผลให้ชื่อของ “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ดังเป็นพลุแตกนั้น หลักจากได้รับการสนับสนุนจาก ประจวบ จำปาทอง และ ปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ ให้ตั้งชื่อวงร่วมกับ เสรี รุ่งสว่าง ในชื่อวง “เสรี-พุ่มพวง” จากจุดนี้เองที่ทำให้ชื่อเสียงสูงสุดในช่วงปี พ.ศ. 2515 – 2534 หลังจากออกจากเสกสรรเทป-แผ่นเสียงมาอยู่ในสังกัดอโซน่าด้วยเพลงจากการแต่งของลพ บุรีรัตน์ที่พลิกแนวให้หันมาร้องเพลงสนุกๆ และได้การตอบรับจากคนฟังเป็นอย่างมาก

เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สาวนาสั่งแฟน ซึ่งเป็นเพลงจุดประกาย ก่อนจะตามมาด้วยเพลง นัดพบหน้าอำเภอ, อื้อฮือหล่อจัง, ดาวเรืองดาโรย, คนดังลืมหลังควาย, นักร้องบ้านนอก, บทเรียนราคาเพลง, หม้ายขันหมาก และอื่นๆอีกมาก นอกจากนี้ ยังได้เป็นผู้ร้องเพลง ส้มตำ (เพลงพระราชนิพนธ์) พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

พุ่มพวงเข้าสู่วงการภาพยนตร์ และแสดงหนังเรื่องแรก สงครามเพลง สร้างโดยฉลอง ภักดีวิจิตร และอีกหลายเรื่อง ในช่วงที่แสดงภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักนักเพลง ได้พบกับไกรสร แสงอนันต์ ได้พาพุ่มพวงพามาเข้าสังกัด อ.ไพจิตร ศุภวารี และมีผลงานอีกหลายชุด เช่น ตั๊กแตนผูกโบว์ โลกของผึ้ง หลังจากนั้นมาอยู่กับห้างท็อปไลน์ก่อนจะหายหน้าไปจากวงการเนื่องจากป่วยด้วยโรคเอสแอลอี

ราชินีเพลงลูกทุ่งมีบุตรกับไกรสร 1 คน คือ “เพชร สรภพ ลีละเมฆินทร์” และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 พิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี

นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยทางวัดจะมีการจัดงานรำลึกถึงพุ่มพวง ช่วงประมาณวันที่ 13 มิถุนายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ

พิกัดวัดทับกระดาน : 14.142366, 99.914850
ที่อยู่วัดทับกระดาน : ตำบล บ่อสุพรรณ อำเภอ สองพี่น้อง สุพรรณบุรี 72190

แผนที่วัดทับกระดาน

สอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติมได้ที่

โทร 035-530113, 089-9226234

ประวัติวัดทับกระดาน

จากคำบอกเล่าของพระใบฎีกาสุพจน์ ฐิตาโภ เจ้าอาวาสวัดทับกระดาน ได้เล่าประวัติความเป็นมาของวัดทับกระดานไว้ว่า เดิมนั้นวัดทับกระดานเป็นเพียงสำนักสงฆ์ และไม่ได้ตั้งอยู่ที่วัดทับกระดานในปัจจุบัน แต่ว่าอยู่ไปทางทิศใต้อีกประมาณ 1 กิโลเมตร ในอดีตนั้นชาวบ้านเรียกชื่อว่า “บ้านทัพกันดาร” เนื่องจากเป็นสถานที่กันดาร มีผู้คนอาศัยอยู่น้อยนิด การเดินทางไปมาก็ลำบาก ไม่สะดวก ต้องใช้วิธีการเดินเท้า หรือใช้วัว ควายเป็นพาหนะเท่านั้น

วัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี วัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี วัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรี

ในปี พ.ศ. 2476 ปู่บุญ ดอกไม้หอม และ ปู่เสาร์ โภคา พร้อมด้วยชาวบ้านอีกหลายชีวิตได้ร่วมแรงร่วมใจกันบริจาคทรัพย์เพื่อก่อสร้างวัดทัพกันดาร บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ และได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “วัดทับกระดาน” เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวบ้านได้อพยพและย้ายวัดทับกระดานมาสร้างใหม่บนพื้นที่ปัจจุบันนี้ แต่ว่าช่วงแรกเริ่มนั้นก็ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก ซ้ำยังเป็นวัดร้างไปช่วงหนึ่งด้วย

จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. 2490 พระครูสุวรรณสาธุกิจ ซึ่งเคยบวชและจำพรรษาที่วัดทับกระดาน ได้เดินทางกลับมาเยี่ยมญาติโยมที่บ้าน ชาวบ้านทราบข่าวจึงได้ร่วมกันนิมนต์ให้ท่านช่วยดูแลพัฒนาวัดทับกระดานให้เจริญรุ่งเรือง โดยเริ่มแรก ๆ นั้นมีเพียงกุฎิสงฆ์ซึ่งเป็นเพียงกระต๊อบที่พักเล็ก ๆ เพียง 2-3 หลัง ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 40 ไร่

หลังจากนั้นวัดทับกระดานก็ได้พัฒนาเรื่อยมา มีการเปลี่ยนเจ้าอาวาสแต่ก็ได้พัฒนาไม่หยุดจนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในทุกวันนี้

มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์ไทยที่น่าไปอย่างยิ่ง

มิวเซียมสยาม อีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ไทยที่น่าไปอย่างยิ่ง

สถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครที่อยู่ด้านหลังพระบรมมหาราชวัง และเป็นแหล่งเรียนรู้ของไทยแบบสมัยใหม่ที่น่าสนใจมาก ๆ อย่างหนึ่งส่วนที่มิวเซียมสยาม มีอะไรน่าสนใจบ้างตามผู้เขียนมาเที่ยวพร้อม ๆ กันครับ

ประวัติมิวเซียมสยาม

มิวเซียมสยาม หรือ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เปิดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 ดูแลโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มีจุดมุ่งหมายในการแสดงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของชาติไทย เน้นกลุ่มชนในเขตกรุงเทพโดยเฉพาะในวัยเด็กและเยาวชน เพื่อต้องการให้ได้เรียนรู้ถึงแก่นและรากเหง้าของชาติไทย มีการจัดแสดงและนำเสนอความเป็นไทยออกมาด้วยสื่อหลากหลายรูปแบบ มีความน่าสนใจและดึงดูดเป็นอย่างมาก

มิวเซียมสยาม ท่าช้างวังหลวง

การเดินทางไปมิวเซียมสยาม

ที่อยู่มิวเซียมสยาม : 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
พิกัดมิวเซียมสยาม : 13.7441522,100.4919483
เวลาเปิดให้เข้าชม : 10.00 น. – 18.00 น.

แผนที่มิวเซียมสยาม

เรานั่งรถมาลงบริเวณท่าช้างวังหลวงเพื่อที่จะรับประทานอาหารอร่อย ๆ กันเสียก่อนที่จะเดินเล่นแบบทอดน่องไปเรื่อย ๆ เลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่นานประมาณ 10 นาทีเราก็ไปถึงปากทางเข้าพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมือของเราซึ่งตัวตึกนั้นเป็นการเอาตึกเก่ามาบูรณะใหม่ให้สวยงามและเปิดบริการ

การเดินทางมาที่มิวเซียมสยามด้วยขนส่งสาธารณะ

  • รถเมล์สาย 12 ถ้าเริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ให้ขึ้นรถที่ฝั่งโรงพยาบาลราชวิถี นั่งจนสุดสายแล้วก็เดินอีกนิดหน่อยมาที่มิวเซียมสยาม
  • รถเมล์สาย 47 ถ้าเริ่มต้นจากสนามกีฬาแห่งชาติ (ข้าง ๆ มาบุญครอง) นั่งมาลงที่ป้ายโรงเรียนตั้งตรงจิตรพณิชยการ (ท่าเตียน) แล้วก็เดินอีกนิดหน่อยเช่นกัน
  • เรือด่วนคลองแสนแสบ ให้ลงที่ท่าเรือผ่านฟ้า แล้วมาต่อรถเมล์ที่หน้านิทรรศน์รัตนโกสินทร์ มีสาย 12, 44 และ 47 ถ้าสาย 12 ให้ลงสุดสาย ส่วนสาย 44 และ 47 ให้ลงที่ป้ายโรงเรียนตั้งตรงจิตรพณิชยการ
  • เรือด่วนเจ้าพระยา ลงที่ท่าเรือท่าเตียน

ดูเส้นทางการเดินทางเพิ่มเติมได้ที่นี่ : แผนที่มิวเซียมสยาม

พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการต่าง ๆ ของมิวเซียมสยาม

ภายในมิวเซียมสยามจะมีการแยกพื้นที่ในการจัดแสดงความรู้และนิทรรศการต่าง ๆ ออกจากกันเป็นสัดส่วน โดยอาคารสำคัญต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดแสดงจะประกอบด้วย

1. อาคารของกระทรวงพาณิชย์เดิม – อาคารนี้จะเป็นอาคาร 3 ชั้น เป็นพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการแบบถาวร รวมทั้งมีร้านค้าจำหน่ายสินค้าที่ระลึก มีทางเข้าออกสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการเพื่อความสะดวกในการเดินทางเยี่ยมชม ปัจจุบันจัดแสดงนิทรรศการ “ถอดรหัสไทย” จำนวน 14 ห้อง โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน ในบางห้องก็มีการแบ่งสัดส่วนสำหรับจัดกิจกรรมหมุนเวียนอื่น ๆ

2. อาคารอเนกประสงค์ 1 – อาคารนี้เป็นอาคารโครงสร้างกระจก ตั้งอยู่ฝั่งด้านถนนเศรษฐการ อยู่หลังร้านอาหาร มี 2 ชั้น เป็นอาคารที่เน้นใช้พื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน งานเสวนา หรือกิจกรรมเวิร์คชอปต่าง ๆ เป็นต้น

3. อาคารสำนักงาน – เป็นอาคาร 5 ชั้นซึ่งแต่เดิมนั้นจะเป็นที่ทำการของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ตั้งแต่ที่ยังเป็นที่ตั้งของกระทรวงพาณิชย์ ในปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงอาคารแห่งนี้เป็นสำนักงานหลักของ “สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และ มิวเซียมสยาม” ในส่วนพื้นที่ที่ว่างก็ได้ปรับปรุงและเปิดให้บริการเป็นห้องประชุม ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการและคลังวัตถุโบราณ รวมถึงใช้เป็นพื้นที่อบรมและจัดงานเสวนาต่าง ๆ

4. ลานสนามหญ้าบริเวณด้านหน้าอาคารกระทรวงพาณิชย์เดิม – พื้นที่ตรงนี้เป็นสนามหน้าเล็ก ๆ ติดกับถนนสนามไชย ใช้แสดงประติมากรรมทางโลหะร่วมสมัย บางครั้งก็ใช้เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมหมุนเวียนอื่น ๆ ที่มักจะดัดแปลงสนามหญ้าไปตามคอนเซ็บต์ของแต่ละกิจกรรม เช่น กิจกรรมภาพยนตร์กลางแจ้ง เป็นต้น พื้นที่บางส่วนได้ปิดปรับปรุงเพื่อใช้สร้างเป็นทางขึ้นทางสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสถานีสนามไชย โดยจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2562

5. ลานคนกบแดงและสนามหญ้า – เป็นลานอิฐและสนามหญ้า อยู่ด้านหลังอาคารของกระทรวงพาณิชย์เดิม อยู่ใกล้กับประตูฝั่งถนนมหาราช ใช้สำหรับจัดกิจกรรมและนิทรรศการกลางแจ้งเป็นหลัก

6. อาคารอเนกประสงค์ 2 – ปรับปรุงเอาไว้ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ

7. นิทรรศการเคลื่นที่ – เป็นการจัดนิทรรศการโดยไปแสดงในสถานที่ต่าง ๆ มีการตกแต่งตู้คอนเทนเนอร์เพื่อให้สะดวกในการเคลื่อนย้ายไปในแต่ละสถานที่

มิวเซียมสยาม ท่าช้างวังหลวง

ความรู้สึกแรกที่เข้าไปคือให้ความรู้สึกที่สมกับเป็นพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่แต่มีกลิ่นอายความเป็นไทยอย่างเต็มเปี่ยม โดยมีร้านกาแฟน่าทานและสนามหญ้าในบริเวณของมิวเซียมสยามด้วยผู้เขียนพาครอบครัวและเด็ก ๆ เข้าไปจ่ายบัตรก่อนจะเข้าไปเที่ยวชม

มิวเซียมสยาม ท่าช้างวังหลวง

สำหรับภายในนั้นต้องบอกเลยว่าออกแบบมาแบบสมัยใหม่และมีการแสดงแสงสีเสียงในแต่ละห้องที่น่าสนใจและตระการตา ให้ความรู้สึกเหมือนไปเดินในเมืองนอกเลยนะครับ

ปล. อากาศภายในมิวเซียมสยามไม่ร้อนเพราะทุกห้องนั้นติดแอร์ทั้งหมด ถ้าถามว่ามิวเซียมสยามคืออะไรตอบได้เลยว่าคือการแสดงโดยการย่อเมืองไทยมาให้อยู่ในอาคารเดียว 

ที่มิวเซียมสยามจะแตกต่างจากที่นิทรรศรัตนโกสินทร์ที่จะเน้นเฉพาะในส่วนของกรุงเทพมหานครเท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าอาคารเล็ก ๆ แบบนั้นแต่ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1-2 ชั่วโมงกันเลยทีเดียวนะครับกว่าจะเดินครบรอบหรือกล่าวง่าย ๆ ว่าเดินหมดพื้นที่นั่นเอง โดยความรู้สึกคือเหมือนได้ไปเที่ยวเมืองไทยแบบครบเลย

มิวเซียมสยาม ท่าช้างวังหลวง

สำหรับใครที่ไปเที่ยว เช่น วัดพระแก้วมาแล้วในช่วงเช้า การมาเที่ยวที่นี่ในช่วงบ่ายนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งความฟินที่คุณต้องอินไปกับบรรยากาศของเมืองกรุงอย่างแน่นอนครับ แต่ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะสักอย่างหนึ่งคือ ใครที่จะมาที่มิวเซียมสยามอาจต้องมีความชอบด้านวัฒนธรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนะครับไม่อย่างนั้นจะรู้สึกว่าอาจจะน่าเบื่อได้

มิวเซียมสยาม ท่าช้างวังหลวง

ผมออกจากมิวเซียมสยามช่วงเวลาประมาณบ่ายสามโมงกว่าก่อนจะเดินลัดเลาะข้างวังเรื่อย ๆ มาจนถึงบริเวณสนามหลวงและเราก็เดินทางต่อไปเที่ยวที่สยามพารากอนเพื่อทานอาหารอร่อย ๆ กัน ซึ่งถือว่าเสร็จสิ้นภารกิจสำหรับความบันเทิงเชิงวัฒนธรรมสำหรับครอบครัวที่คุณสามารถดูตามและนำเอาไปใช้ได้นะครับ


ปล.ท้ายสุด สำหรับใครที่จะไปมิวเซียมสยามศึกษาเวลาเปิดปิดของสถานที่ให้ดีนะครับ และถ้าคุณคิดจะมาตอนเที่ยง ๆ แล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมมามากที่สุดเลยคือ ร่ม บอกเลยว่าร้อนมาก ๆ กว่าจะถึงที่มิวเซียมสยาม

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ย

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย

แอดมินได้ไปเที่ยวที่แหลมผักเบี้ยในช่วงสงกรานต์ พอดีแอดมินไม่ค่อยชอบเล่นน้ำสงกรานต์เท่าไหรเลยหาที่เที่ยวใกล้ๆ กรุงเทพ แอดมินเลือกที่จะไปที่แหลมผักเบี้ย โดยมีชื่อเต็มว่า “โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย” โดยโครงการนี้อยู่ที่ ตำบล แหลมผักเบี้ย อำเภอ บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย

โดยโครงการนี้ได้เกิดขึ้นจาก

“…ปัญหาสำคัญ คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกัน ทำไม่ยากนัก ในทางเทคโนโลยีทำได้ แล้วในเมืองไทยเองก็ทำได้… …โครงการที่จะทำนี้ไม่ยากนัก คือว่า ก็มาเอาสิ่งที่เป็นพิษออก พวกโลหะหนักต่างๆเอาออก ซึ่งมีวิธีทำ ต่อจากนั้นก็มาฟอกใส่อากาศ บางทีก็อาจไม่ต้องใส่อากาศ แล้วก็มาเฉลี่ยใส่ในบึง หรือเอาน้ำไปใส่ในทุ่งหญ้าแล้วก็เปลี่ยนสภาพของทุ่งหญ้าเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ส่วนหนึ่งเป็นที่สำหรับปลูกพืช ปลูกต้นไม้… …แล้วก็ต้องทำการเรียกว่า การกรองน้ำ ให้ทำน้ำนั้นไม่ให้โสโครก แล้วก็ปล่อยน้ำลงมาที่เป็นที่ทำการเพาะปลูก  หรือทำทุ่งหญ้า หลังจากนั้นน้ำที่เหลือก็ลงทะเล โดยที่ไม่ทำให้น้ำนั้นเสีย…”

– กระแสพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2533

แหลมผักเบี้ย คือ สถานที่ที่แอดมินจะมาเที่ยวกันครับนอกจากจะเป็นโครงการในพระราชดำริแล้ว สถานที่นี้ยังมีเส้นทางเพื่อศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนที่มีทางเดินลัดไปสู่ชายทะเล ซึ่งเส้นทางเข้าป่าชายไปสู่ชายทะเลมีความสวยงามขนาดไหนลองชมภาพได้เลยครับ

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย

ป่าชายเลนคือ สถานที่บำบัดน้ำเสียที่ดีที่สุด ก่อนที่น้ำนั้นจะไหลลงสู่ทะเลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ได้มีพระราชดำริขึ้นเพื่อประชาชนทุกคนอย่างแท้จริง ในอดีตนั้นที่นี่พบกับปัญหาน้ำเสียถึงขนาดน้ำที่จะนำมาใช้ในการอุปโภค บริโภคไม่สามารถนำมาใช้ได้เลย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการดังกล่าวเพื่อบำบัดน้ำเสีย โดยให้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ มีด้วยกัน 4 ระบบ

  • ระบบแรก คือ บ่อบำบัดน้ำเสีย เวลาที่มีน้ำเสียไหลมาแต่ละบ่อก็จะไหลล้นผ่านอาคารระบายน้ำด้านบน และเชื่อมต่อกันทางตอนล่างของบ่อถัดไปเป็นลำดับก่อนที่จะนำคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
  • ระบบที่สอง คือ ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย ซึ่งให้พืชช่วยบำบัดนำเสียโดยการให้น้ำเสียไหลผ่านแปลงหญ้าและหญ้าที่ดีที่สุดก็คือหญ้าธูปฤาษีที่ช่วยปล่อยออกซิเจนจากรากลงไปเติมน้ำให้กลายเป็นน้ำดีได้ และเมื่อครบ 90 วัน ก็จะตัดพืชออก พอตัดแล้วก็นำไปให้กลุ่มแม่บ้านทำเครื่องสานเพื่อเพิ่มประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านได้
  • ระบบที่สาม คือ ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม กลไกก็จะคล้ายกับระบบพืชและหญ้ากรอง แต่จะแตกต่างกันด้วยวิธีการ
  • ระบบที่สี่ คือ ระบบแปลงพืชป่าชายเลน โดยการให้ธรรมชาติบำบัดด้วยตัวของมันเองตามระยะเวลาการขึ้นลงของน้ำทะเลในแต่ละวัน อาศัยระบบรากของพืชป่าชายเลนช่วยปล่อยก๊าซออกซิเจนเติมให้กับน้ำเสียและจุลินทรีย์ในดินและชาวบ้านจะไม่เข้ามายุ่ง เพราะเป็นพื้นที่ของงานวิจัยและเมื่อมีโครงการฯ เข้ามาชาวบ้านก็จะเริ่มอนุรักษ์โดยการไม่ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ หรือว่าถ้าเขาจะปล่อยก็จะใช้ผ่านถังดักไขมัน หากบ้านไหนยังไม่มี ชาวบ้านจะมารับถังดักไขมันที่โครงการฯ ได้

แอดมินได้ทำการเดินเข้าสู่ป่าชายเลน ซึ่งเดินไปตามเส้นทางเรื่อยๆ ก็พบว่าที่แหลมผักเบี้ยนี้เป็นสถานที่ สวยและเงียบสงบมากๆ ครับ เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบบรรยากาศแบบธรรมชาติสุดๆ ช่วงที่แอดมินไปอากาศไม่ร้อนมากเท่าไหร ถ้ามาช่วงหน้าฝนตกพร่ำ นั่งกินอาหารตามศาลาที่พักระหว่างทางนี้ คงฟินมาก ๆ แน่ ๆ เลยครับ

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย

ปัจจุบันโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้จัดให้มีการให้ความรู้การฝึกอบรมผ่านกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงเปิดให้ผู้สนใจสามารถเข้าศึกษาดูงานได้

การเดินทาง

ที่อยู่โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย : ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม เพชรบุรี 76100
พิกัด : 13.0469659,100.0822

แผนที่แหลมผักเบี้ย

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ 131 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางที่วิ่งทางถนนพระราม 2 การเดินทางให้ใช้เส้นทางเดียวกับการเดินทางลงทางภาคใต้ของประเทศไทย

ชิล ๆ กับบรรยากาศริมน้ำที่เอเชียทีค

ถ้าใครได้ขับรถผ่านสะพานสาทร หรือ นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาแล้วละก็ยังไงก็ต้องเห็นมาแต่ไกลครับ ก็เพราะเจ้าชิงช้าที่ เอเชียทีค นี้มันใหญ่โตมากเลยครับ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เห็นว่าความสูงนี่กว่า หกสิบเมตรก็เลยทีเดียว ถ้าคิดเทียบกับตึกนี่ก็กว่าเกือบ ยี่สิบชั้นเลยนะ